line-pg168

“เสือโคร่ง” นักล่าผู้น่าเกรงขาม ชอบฉายเดี่ยวในการออกล่าเหยื่อ

กรกฎาคม 28, 2024
เสือโคร่ง

เสือโคร่ง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม รักในชีวิตสันโดษชอบออกล่าเหยื่อเพียงลำพัง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera tigris จัดอยู่ในวงศ์ Felidae รูปร่างใกล้เคียงกับเสือโคร่งสายพันธุ์เบงกอล มีต้นกำเนิดจากเอเชียตะวันออก กระจายตัวอยู่ในเขตผืนป่าทั่วทวีปเอเชียและทางตะวันออกของรัสเซีย อาหารหลักที่กินคือเนื้อสัตว์ อาศัยอยู่ตามป่าทึบสลับกับทุ่งหญ้าโล่ง

มาทำความรู้จัก เสือโคร่ง สัตว์มีชีวิตที่รักสันโดษ

เสือโคร่งเป็นนักล่าอันดับสูงสุดในห่วงโซ่อาหารตามธรรมชาติ มีเสน่ห์ดึงดูดผู้คนที่พบเห็น ด้วยลักษณะภายนอกที่โดดเด่น มีลวดลายบนตัวและสีของลำตัวที่สวยงาม มีหลากหลายสายพันธุ์ ขนาดลำตัวกับน้ำหนักแต่ละพันธุ์จะมีความแตกต่างกัน เสือตัวเมียจะทำหน้าที่เลี้ยงลูก ส่วนเสือตัวผู้จะคอยปกป้องไม่ให้เสือตัวผู้อื่นๆ รุกล้ำอาณาเขต

อุปนิสัยและพฤติกรรมของ เสือโคร่ง ที่ควรรู้

เสือโคร่งสัตว์ที่มีชีวิตสันโดษ ยกเว้นแม่เสือที่มีลูกอ่อนที่ต้องคอยเลี้ยงดูและปกป้องลูกของตัวเอง เสือแต่ละตัวจะมีอาณาเขตอาศัยเป็นของตัวเอง จะอาศัยอยู่ในพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ หลบซ่อนตัวอยู่ในถ้ำหรือในบริเวณที่มีต้นไม้หนาแน่น โดยจะมีนิสัยกับพฤติกรรมอย่างไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย

  • นิสัยปกติจะหวงถิ่น เสือจะหันก้นปัสสาวะรดตามต้นไม้หรือโขดหิน เพื่อให้กลิ่นของตนเองติดอยู่ เหมือนประกาศอาณาเขตและสื่อสารกับเสือโคร่งตัวอื่น หากมีเสือโคร่งตัวอื่นหรือสัตว์อื่นที่มีขนาดใหญ่รุกล้ำมา จะเกิดการต่อสู้กัน เสือมีนิสัยที่จะกลัวมนุษย์ เมื่อพบกับมนุษย์แล้วจะรีบหลบหนีทันที
  • ชอบอาศัยอยู่ตามป่าทึบสลับกับทุ่งหญ้าโล่งนอกจากนี้ยังมีนิสัยอีกอย่างที่อาจจะไม่เคยรู้มาก่อน คือเสือชอบว่ายน้ำกับแช่น้ำมาก ซึ่งแตกต่างจากเสือสายพันธุ์อื่น ที่ล่าเหยื่อได้ทั้งกลางวันทั้งคืน ส่วนใหญ่จะนอนพักผ่อนในเวลากลางวัน และออกล่าเหยื่อช่วงเวลากลางคืน
  • เสือโคร่งกับวิธีการล่าเหยื่อ มักจะจู่โจมโดยจะกัดที่คอหอยเหยื่อจากทางด้านบนหรือด้านล่างก่อนบางทีกระโดดควบหลังเหยื่อให้ล้มลงก่อนที่จะกัดคอหอย จะเริ่มกินเนื้อบริเวณคอ จากนั้นถึงจะกินส่วนอื่น แต่มักจะไม่กินส่วนหัวกับขาของเหยื่อ
  • พฤติกรรมของเสือ จะมีนิสัยชอบอยู่เพียงลำพังตัวเดียวโดด ๆ ยกเว้นเมื่อพร้อมผสมพันธุ์จึงจะจับคู่กัน อายุที่พร้อมจะผสมพันธุ์นั้น คือช่วงอายุ 3-5 ปี คลอดลูกครั้งละ 1-6 ตัว อีกทั้งจะเลี้ยงลูกเองตามลำพังโดยไม่ยอมให้ใครเข้าใกล้ประมาณ 2 ปี
  • การกินอาหาร เสืออยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร อาหารที่ชอบมาก คือ หมูป่ากับกวาง ส่วนใหญ่เสือโคร่งจะกินสัตว์ขนาดใหญ่ กินเหยื่อที่ล่าตามธรรมชาติหรือสัตว์กินพืชชนิดต่างๆเช่น กระทิง, วัวแดง, เก้งป่า, นอกจากนี้เสือคือสัตว์ผู้ล่าขนาดใหญ่ จึงส่งผลให้มีอาณาเขตในการหาอาหารที่กว้างขวาง [1]

เสือโคร่ง มีรูปลักษณะอย่างไร

เมื่อพูดถึงเสือโคร่งแล้ว เชื่อว่าหลายท่านคงเคยเห็นและรู้จักกันดี จะมีรูปร่างสง่างาม ลำตัวใหญ่น่าเกรงขาม มีลายพาดกลอนไม่เหมือนเสือชนิดอื่น ถ้ามองดูภายนอกแล้วจะมีรูปร่างใกล้เคียงกับเสือโคร่งสายพันธุ์เบงกอลที่สุด โดยมีรูปร่างดังต่อไปนี้

เสือโคร่งมีรูปลักษณะอย่างไร
  1. ลักษณะ : เสือตัวผู้มีลักษณะเด่นที่ขนที่หลังแก้มทั้งสองด้านซึ่งจะยาว บริเวณจมูกมีสีชมพู ลำตัวมีสีเหลืองแดงหรือสี บริเวณหน้าอก ส่วนท้องกับด้านในของขาทั้งสี่มีสีขาวครีม บางตัวอาจมีสีออกเหลือง ตากลมมีตาสีเหลือง หูจะสั้นกลม หลังหูมีสีดำ ขาหน้าจะบึกบึนแข็งแรง ปลายหางเรียวยาวประมาณครึ่งหนึ่งของลำตัว
  2. สีลำตัว : สีของลำตัวนั้นจะมีสีตั้งแต่โทนแดงส้มไปยังเหลืองปนน้ำตาล ส่วนด้านล่างมีสีขาว ลำตัวยังมีลายพาดผ่านมีสีดำกับเทาเข้ม
  3. เท้า : เท้าหน้าจะมีนิ้วอยู่ข้างละ 5 นิ้ว ส่วนเท้าหลังมีข้างละ 4 นิ้ว เล็บสามารถหดเก็บไว้ในอุ้งได้ ทำให้สามารถเดินได้อย่างเงียบกริบ อีกทั้งรอยเท้าจะไม่ปรากฏรอยเล็บ
  4. น้ำหนักกับขนาดความยาว : ขนาดกับน้ำหนักของแต่ละพันธุ์มีความแตกต่างกัน เช่น เสือไซบีเรียตัวผู้มีขนาดใหญ่มีความแข็งแรงที่สุด มีความยาวลำตัวเกิน 10 ฟุต หนักมากกว่า 300 กิโลกรัม
  5. ลายพาดกลอนของเสือโคร่ง : ลายพาดกลอนของเสือโคร่งแต่ละตัวมีความแตกต่างกันมาก จะไม่ซ้ำกันเลยแม้แต่ตัวเดียว จุดสังเกตของแถบบนตัวเสือโคร่งคือ จำนวนแถบกับความกว้างของแถบ เสือโคร่งพันธุ์สุมาตรามีริ้วลายมากที่สุด ส่วนเสือโคร่งพันธุ์ไซบีเรียจะมีลายน้อยที่สุด
  6. อายุขัย : ถ้าตามสถานเพาะเลี้ยงจะมีอายุประมาณ 25 ปี ส่วนถ้าในตามธรรมชาติจะอายุสั้นกว่าประมาณ 10 ปีเท่านั้น แต่เคยมีบันทึกไว้ว่ามีเสือโคร่งสามารถมีอายุอยู่ได้ถึง 26 ปี [2]

สายพันธุ์ของเจ้า เสือโคร่ง กับเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการสืบพันธุ์

เสือโคร่งเรียกได้ว่านักล่าเหยื่อที่ชอบฉายเดี่ยวในทวีปเอเชียเสือโคร่งได้รับการยกย่องให้เป็นจ้าวป่า เช่นเดียวกับที่สิงโตที่ครองตำแหน่งเจ้าแห่งท้องทุ่งในทวีปแอฟริกา เสือจะมีชนิดพันธุ์ย่อยของเสือโคร่งอยู่หลายชนิด เสือตัวผู้กับตัวเมียจะมีน้ำหนักกับความยาวของลำตัวที่แตกต่างกัน เมื่อเสือโคร่งโตเต็มวัยทั้งคู่จะอยู่เพียงลำพังจนกว่าจะพร้อมผสมพันธุ์

ชนิดพันธุ์ย่อยของ เสือโคร่ง

เสือโคร่งจะแบ่งออกเป็นชนิดย่อยได้ 6 ชนิดย่อย โดยจะมีเขตที่กระจายพันธุ์ มีลักษณะรูปร่างและขนาดตัวกับน้ำหนักที่มีความต่างกันขึ้นอยู่กับแต่ละพันธุ์ ดังไปดังนี้

ชนิดพันธุ์ย่อยของเสือโคร่ง
  1. เสือโคร่งเบงกอล : บางครั้งอาจเรียกว่าเสือโคร่งอินเดีย เนื่องจากพวกมันส่วนใหญ่อยู่อาศัยในประเทศอินเดีย ส่วนใหญ่มักใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยว แต่หากพื้นที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ เราก็สามารถพบเสือโคร่งอาศัยอยู่ร่วมกันได้จำนวนมาก ลำตัวของตัวผู้จะมีน้ำหนัก 180-258 กิโลกรัม ความยาวของลำตัวประมาณ 2.7-3.1 เมตร ส่วนตัวเมียจะมีน้ำหนัก 100-160 กิโลกรัม มีความยาว 2.4-2.65 เมตร
  2. เสือโคร่งไซบีเรีย : ถิ่นที่อยู่อาศัยของพวกมันอยู่ในบริเวณผืนป่าที่หนาวเย็น ทางตะวันออกของรัสเซีย อาศัยในผืนป่าทางตอนเหนือที่แทบไม่มีมนุษย์อยู่อาศัย มีพื้นที่มหาศาลที่ยังคงสภาพความเป็นธรรมชาติ ตัวผู้จะมีน้ำหนักอยู่ที่ 180-306 กิโลกรัม ความยาวของลำตัวประมาณ 2.7-3.3 เมตร ส่วนตัวเมียจะมีน้ำหนัก 100-167 กิโลกรัม มีความยาว 2.4-2.75 เมตร
  3. เสือโคร่งอินโดจีน : สามารถพบเห็นได้ไม่ยากในพื้นที่ประเทศพม่า,ไทย, เวียดนาม, ลาว, กัมพูชา, ทางตอนใต้ของจีน ชนิดพันธุ์นี้อยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์ โดยคาดว่าเหลืออยู่เพียง 300 ตัวตามธรรมชาติ ตัวผู้จะมีน้ำหนักอยู่ที่ 150-195 กิโลกรัม ความยาวของลำตัวประมาณ 2.55-2.85 เมตร ส่วนตัวเมียจะมีน้ำหนัก 100-130 กิโลกรัม มีความยาว 2.3-2.55 เมตร
  4. เสือโคร่งมลายู : ปัจจุบันคาดว่าเหลือเสือโคร่งมลายูราว 500 ตัว ที่อาศัยอยู่ในคาบสมุทรมลายู บริเวณประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย มีลักษณะคล้ายคลึงกับเสือโคร่งอินโดจีนทั้งสี, ลวดลาย รวมถึงสัณฐานของกะโหลก ตัวผู้จะมีน้ำหนักอยู่ที่ 120 กิโลกรัม ส่วนตัวเมียจะมีน้ำหนัก 100 กิโลกรัม
  5. เสือโคร่งสุมาตรา : จากการสำรวจ พบว่าอาศัยอยู่บนเกาะสุมาตราได้ราว 1,000 ตัว แต่ในปัจจุบัน คาดว่ามีเหลืออยู่ไม่ถึงครึ่งหนึ่ง เนื่องจากการล่าที่รุนแรงมากขึ้น รวมไปถึงอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันที่บุกทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยนั่นเอง ตัวผู้จะมีน้ำหนักอยู่ที่ 100-140 กิโลกรัม ความยาวของลำตัวประมาณ 2.2-2.55 เมตร ส่วนตัวเมียจะมีน้ำหนัก 75-110 กิโลกรัม มีความยาว 2.15-2.3 เมตร
  6. เสือโคร่งจีนใต้ : อาจเรียกได้ว่าเวลาของเสือโคร่งจีนใต้ได้หมดลงแล้ว เพราะนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 ก็ไม่มีใครสามารถบันทึกเสือพันธุ์นี้นตามธรรมชาติได้อีก แม้ว่าอาจจะมีหลงเหลืออยู่ไม่มากนัก คาดว่าชนิดพันธุ์ย่อยนี้อาจสูญพันธุ์จากธรรมชาติไปแล้ว โดยตัวผู้จะมีน้ำหนักอยู่ที่ 130-175 กิโลกรัม ความยาวของลำตัวประมาณ 2.3-2.65 เมตร ส่วนตัวเมียจะมีน้ำหนัก 100-115 กิโลกรัม มีความยาว 2.2-2.4 เมตร

เสือโคร่งส่วนใหญ่จะออกมาในตอนกลางคืน เว้นแต่เสือไซบีเรียที่จะออกมาในช่วงกลางวันของฤดูหนาว จะล่าเหยื่อโดยการค่อยๆเข้าใกล้เหยื่อ จากนั้นจู่โจมเข้าทางด้านข้างหรือด้านหลังนั่นเอง [3]

การสืบพันธุ์ของ เสือโคร่ง

เสือโคร่งเมื่อโตเต็มวัยแล้ว เสือทั้งตัวผู้และตัวเมียจะอาศัยอยู่เพียงลำพัง จนกระทั่งถึงเวลาที่พร้อมจะผสมพันธุ์ ถึงจะค่อยๆออกมาหาคู่

  • การผสมพันธุ์ เสือตัวเมียพร้อมที่จะผสมพันธุ์เมื่ออายุได้ 3 ปีขึ้นไป ในขณะที่ตัวผู้ที่อายุเท่ากันก็สามารถผสมพันธุ์ได้ แต่จะมีโอกาสน้อยกว่าตัวเมีย เนื่องจากเสือโคร่งตัวผู้ต้องหาอาณาเขตของตัวเองให้ได้ก่อน ซึ่งอาจใช้เวลาอีก 1-2 ปี ดังนั้นเสือตัวผู้อาจมีอายุถึง 4-5 ปี ถึงจะสามารถหาตัวเมียเพื่อผสมพันธุ์ได้
  • การอุ้มท้อง เสือตัวเมียจะอุ้มท้องประมาณ 3 เดือนก่อนคลอดลูก จำนวนลูกที่คลอดจะมีประมาณ 2- ตัว ส่วนใหญ่ลูกจะรอดชีวิตจนโตเต็มวัยประมาณ 2-3 ตัว เท่านั้น แม่เสือมีทำหน้าที่เลี้ยงลูก ในขณะที่ตัวผู้จะคอยปกป้องที่อยู่ไม่ให้เสือโคร่งตัวผู้อื่นๆ รุกล้ำอาณาเขต อีกทั้งยังผสมพันธุ์กับเสือโคร่งตัวเมียอื่นๆ ที่อยู่ในอาณาเขตของตน
  • เสือโคร่งตัวเมียจะเลี้ยงลูกประมาณ 2 ปี ถ้าลูกเสือตัวผู้ จะเริ่มแยกตัวออกไปหาอาณาเขตของตัวเอง ในขณะที่ลูกเสือตัวเมียอาจอยู่กับแม่ต่อไปจนอายุประมาณ 2-5 ปี จึงค่อยแยกตัวออกไป

การที่เสือโคร่งจะเลี้ยงลูกได้ประสบความสำเร็จขึ้นอยู่กับอาหารด้วย จะเฉลี่ยใน 1 ปี จะกินเนื้อประมาณ 3,000 กิโลกรัมต่อ 1 ตัว การเลี้ยงลูก 2-3 ตัว ต้องมีเนื้อถึง 4,000 กิโลกรัมต่อปี ลูกๆถึงจะมีชีวิตรอด อีกทั้งจะเห็นได้ว่าชนิดพันธุ์ย่อยแต่ละพันธุ์ บางสายพันธุ์ก็ยังคงเหลืออยู่จำนวนมาก แต่บางสายพันธุ์ก็อาจสูญพันธุ์จากธรรมชาติไปแล้ว [4]

สรุป เสือโคร่ง นักล่าเหยื่อฉายเดี่ยวที่ชอบใช้ชีวิตสันโดษ

เสือโคร่ง นักล่าเหยื่อโดยใช้ประสาทสัมผัสทางตาและการฟังเสียงชอบฉายเดี่ยวเพื่อออกล่าเหยื่อ ชอบกินหมูป่ากับกวางมากที่สุดสังหารเหยื่อโดยกัดที่ลำคอหรือบริเวณด้านหลังของส่วนหัว อีกทั้งเสือแต่ละตัวจะมีอาณาเขตอาศัยเป็นของตัวเอง ซึ่งอาณาเขตจะอยู่ไม่ไกลกันมากนัก เสือโคร่งบางตัวอาจมีพฤติกรรมเข้าสังคมได้อีกด้วย เช่น การแบ่งปันเหยื่อกันกินนั่นเอง

อ้างอิง

[1] wikipedia. (July 05, 2024). เสือโคร่ง. Retrieved from Wikipedia

[2] verdantplanet. (January 26, 2024). เสือโคร่ง. Retrieved from verdantplanet

[3] seub. (July 29, 2017). รู้จัก 6 ชนิดพันธุ์ย่อยของ ‘เสือโคร่ง’. Retrieved from seub

[4] wwf. (2021). เสือโคร่ง. Retrieved from wwf

ความพยายามคือหนทางแห่งความสำเร็จ
PG168-HOMEหน้าหลักPG168-Promotionโปรโมชั่นpg168PG168-Registerสมัครสมาชิกpg168-Eventกิจกรรม
PGSLOT
หวย
บาคาร่า
กีฬา
โปรโมชั่น
สมาชิกใหม่รับโบนัส
แตกแจกเพิ่ม
ฝากแรกของวัน
กงล้อลุ้นโชค
ขาประจำ
ติดต่อเราLINE
pg168LINE ID : @vippg168PG168-line
PG168-bank
Copyright © 2023 Supported by PG168
pg168LINE ID : @vippg168
PGSLOT
หวย
บาคาร่า
กีฬา
PG168-linePG168-bankCopyright © 2023 Supported by PG168